top of page
Writer's picturePaweenawat Suwannsri

กระดูกสะโพกหัก (Hip fracture)


ผู้สูงวัยต้องทานอาหารเสริมบำรุงกระดูกเสมอนะครับ เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน ถ้ากระดูกเราเปราะบางแล้วก็จะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหัก ด้วยวัฒนธรรมในปัจจุบัน คุณปู่ ย่า ตา ยาย มักจะอยู่บ้านตามลำพัง หรือไม่มีคนเฝ้าตลอดเวลา ดังนั้นถ้าเค้าล้ม เค้ามักจะไม่ได้บอกใคร และแสดงออกโดยการไม่ยอมเดิน หรือเดินกระเผลก


คนที่ดูแลผู้สูงวัยควรหมั่นสังเกตุดูความผิดปกตินะครับ ถ้าปกติเดินได้แล้วอยู่ดี ๆ แกไม่ยอมเดิน หรือเดินกระเผลก ให้รีบพามาพบหมอกระดูกและข้อนะครับ เพราะเอกซเรย์ดูว่ามีภาวะกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) หรือไม่


กาวะกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) มักจะพบเฉลี่ยอายุ 70-80 ปี เป็นภาวะที่ควรรีบรักษาครับ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลเสีย กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ช่วยเหลือดตัวเองไม่ได้ และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตสูง การผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก หรือการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่กลัวการเดิน ไม่ให้กล้ามเนื้อฝ่ออ่อนแรง ผลงานวิจัยชี้ชัดว่ารีบผ่าตัดภายใน 24-48 ชั่วโมง จะได้ผลดีกว่าการปล่อยทิ้งไว้นาน


หลังจากผ่าตัดแล้ว การดูแลผู้สูงวัยที่บ้านหลังผ่าตัด ได้แก่การฝึกกายภาย การป้องกันการล้มซ้ำ การจัดบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงวัย เป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องเตรียมตัว สุดท้ายนี้เมื่อมีภาวะกระดูกสะโพกหัก อย่าลืมรักษาภาวะกระดูกพรุนต่อเนื่องด้วยนะครับ เพื่อไม่ให้กระดูกหักซ้ำครับ


10 views0 comments

Comentarios


bottom of page