ผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาหนีบเวลาเดินหรือขยับ เป็นอาการแสดงข้อภาวะข้อสะโพกอักเสบ หรือ ข้อสะโพกเสื่อม โรคที่ทำให้เกิดปัญหาที่ข้อสะโพกในคนไทย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก ภาวะข้อสะโพกขาดเลือด (Avascular necrosis) และกระดูกสะโพกหักในผู้สูงวัย (Osteoporosis hip fracture) เมื่อข้อสะโพกถูกทำลายไปจะทำให้ผิวข้อเสื่อม ขรุขระและปวดมากเวลาเดิน การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม เป็นการรักษาที่ได้ผลดีมากในปัจจุบัน
โดยทั่วไปการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมส่วนใหญ่ผู้ป่วยนอนตะแคงแผลผ่าตัดอยู่ทางด้านหลัง (Posterior approach) และมีการตัดกล้ามเนื้อ ทำให้ฟื้นตัวช้า และเสี่ยงต่อการเกิดข้อสะโพกหลุดไปทางด้านหลัง โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก
เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่ (Direct anterior approach) ไม่ต้องตัดกล้ามเนื้อ (Muscle sparing technique) และแผลเล็ก ขนาด 8-12 ซม. (Minimally invasive) ทำให้เนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย ปวดน้อย และฟื้นตัวเร็วกว่า ปัจจุบันคนไข้หมอสักกาเดช นอนโรงพยาบาลเฉลี่ยประมาณ 2-3 วันก็สามารถเดินกลับบ้านได้ การผ่าตัดเทคนิคนี้ผู้ป่วยนอนหงาย ทำให้แพทย์ผ่าตัดสามารถใช้เอกซเรย์ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวางตำแหน่งข้อสะโพกเทียม และประเมินความยาวขาได้ดีกว่าการผ่าตัดวิธีอื่น
แผลเมื่อ 2 สัปดาห์
หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ ขนาดแผลยาว 10 ซม
ในปัจจุบัน การผ่าตัดวิธีนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากเป็นเทคนิคใหม่ที่ต้องอาศัยแพทย์ที่มีความชำนาญครับฝากถึงผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ผมแนะนำให้เลือกวิธีการผ่าตัดทางด้านหน้าแบบนี้นะครับ มันปวดน้อยกว่าวิธีเดิมจริง ๆ
นี่เป็นตัวอย่างคนไข้หมอสักกาเดชจะมาพูดถึง “ประสบการณ์การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ”
Comments